วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2560

บทความเรื่องครูกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

บทความเรื่องครูกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21


ในโลกที่หมุนเร็วอย่างทุกวันนี้ ใครขยับนำหน้าย่อมเหนือกว่าและเป็นผู้ชนะ โลกสมัยใหม่จึงเป็นโลกของคนมีความพร้อมที่จะเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง        ความท้าทายจึงตกอยู่กับผู้ผลิตบุคลากรอย่างสถาบันการศึกษาที่ต้องรุดหน้า ปรับเปลี่ยนตนเองให้เร็วยิ่งกว่า เพื่อสร้างคนให้เท่าทันกับการขยับตัวของโลก ซึ่งการสร้างเด็กให้เติบโตมาในยุคศตวรรษที่ 21 อาจไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะสิ่งที่เคยเป็นมาอาจใช้ไม่ได้กับยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยน แปลงของสภาพแวดล้อม และปัญหาที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่
สอนเด็กอยู่กับธรรมชาติ 
เมื่อโลกเปลี่ยน .... 
ยุคที่ผ่านมาเป็นเรื่องของความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ ความรู้คืออำนาจ เราจึงสอนให้เด็กใช้ความรู้เพื่อฝืนธรรมชาติ ต่อไปในศตวรรษที่ 21 ต้องเปลี่ยนความคิดและสร้างประสบการณ์ให้เด็กสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และเมื่อสิ่งต่าง ๆ เริ่มเปลี่ยนไป การสอนจะต้องไม่เป็นแบบแพ้คัดออกหรือให้โอกาสเฉพาะคนเก่งและละทิ้งเด็กเรียน อ่อน แต่จะต้องเป็นลักษณะของการช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นความท้าทายของผู้บริหารการศึกษา ว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงวิธีคิดแบบเดิมและหันมาตอบโจทย์โลกได้หรือไม่
สร้างตัวตนและความเป็นคน 
การที่เด็กมาอยู่ในโรงเรียนนั้น ไม่ได้หมายความว่าโรงเรียนจะสอนเด็กเพียงแค่ ปี หรือ 6 ปี แต่สิ่งที่โรงเรียนสอนทั้งหมดจะติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต โรงเรียนจึงต้องพยายามค้นหาศักยภาพและทำให้เด็กเป็นคนที่ประสบความสำเร็จ เพราะภารกิจของโรงเรียนคือการสร้างมนุษย์            เขาอธิบายต่อว่า เด็กยุคนี้จะอยู่กับคอมพิวเตอร์ ครูจะต้องรู้จักเทคโนโลยีไม่เช่นนั้นเราจะสอนเด็กไม่ได้ และการสอนไม่ใช่การบอกให้เด็กไปค้นหา แต่ต้องให้เด็กรู้จักวิเคราะห์ พิจารณาข้อมูลและเอาตัวรอดจากสิ่งหลอกลวงที่มากับเทคโนโลยีให้ได้ เพราะเทคโนโลยีจะช่วยให้หลุดพ้น จึงต้องสอนให้เด็กใช้เทคโนโลยีอย่างฉลาด 
เชื่อมการเรียนรู้นอกห้องเรียน 
1.Learn to live เรียนเพื่อจะรู้จักใช้ชีวิตอยู่บนโลก 
2.Learn to love สอนให้เด็กรู้จักโลก รักคนอื่น รักตนเอง 
3.Learn to learn สอนให้เด็กรู้ว่าทำไมเราจึงต้องเรียน เรียนที่ไหน เรียนอย่างไร เรียนเมื่อไหร่ เรียนกับใคร และเรียนแล้วจะไปใช้ทำอะไร 
 4.Love to learn เด็กรักที่จะเรียนรู้ไปตลอดชีวิต
 

การเรียนไม่ใช่แค่การเรียนในระบบ แต่ต้องเชื่อมทั้งในระดับโลคอลและโกลบอล เทคโนโลยีจะทำให้ลดข้อจำกัดในการเรียนรู้ อุปกรณ์การเรียนการสอนจะทำให้เกิดการสื่อแบบหลายทาง คือเด็ก ครู และผู้ปกครองพ่อแม่อาจจะต้องเข้ามาเรียนการเลี้ยงลูกและต่อไประบบการศึกษาจะต้องมีผู้ เชี่ยวชาญปัญหาในแต่ละด้านเข้ามาช่วยให้คำแนะนำ ผนึกกำลังผ่านเทคโนโลยี นอกห้องเรียนและในห้องเรียน นอกระบบ ในระบบ ทำให้เด็กฉลาด แข็งแรง และอยู่รอด

วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560

สื่อการสอนแบสไลด์เรื่องมาตราตัวสะกดไทย


ชื่อนวัตกรรม : สื่อการสอนแบบสไลด์เรื่องมาตราตัวสะกดไทย


วัตถุประสงค์ของการใช้นวัตกรรม

   1.เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำในมาตราตัวสะกดไทยทั้ง 8 มาตรา
   2.เพื่อให้นักเรียนแยกคำได้ว่าคำใดอยู่ในมาตราอะไร
   3.เพื่อให้นักเรียนนำคำที่ได้เรียนรู้ในมาตราตัวสะกดไทยไปแต่งประโยคเพื่อใช้ในการสื่อสาร

ทฤษฎีหลักการที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรม
หลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมทางการศึกษา ประกอบด้วย
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในด้านการศึกษา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น อาจสรุปได้ดังนี้
1. กลุ่มพฤติกรรมนิยม คือ พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า และแสดงพฤติกรรมเหล่านั้นออกมา
2. กลุ่มปัญญานิยม คือเรียนรู้เป็นกระบวนการของจิตที่ต้องมีการรับรู้จากการกระทำ และตีความ สามารถให้เหตุผลจนเกิดเป็นความรู้
3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม คอนสตรัคติวิสต์ เป็นการอาศัยประสบการณ์เดิม ทางปัญญาที่มีอยู่เดิม
4.ทฤษฏีการสื่อสาร คือกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบุคคล โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน
5. ทฤษฏีระบบ จัดเป็นสาขาวิชาที่เกิดขึ้นช่วงปลายศรวรรษที่ 20 โดยอาศัยทฤษฏีหลายสาขาวิชา โดยนำแนวคิดแต่ละวิชามาประยุกต์รวมกัน สร้างเป็นทฤษฏีระบบขึ้นมา        
6. ทฤษฏีการเผยแพร่ เกิดจากการผสมผสานทฤษฏีหลักการ และความรู้ ความจริงจากหลานสาขาวิชา มาเป็นนวัตกรรมของศาสตร์นั้นๆ มาเผยแพร่ขึ้น
การนำนวัตกรรมไปใช้
 1.เพื่อนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาในเรื่องการเรียนการสอน  เช่น 
           1.1  ปัญหาเรื่องวิธีการสอน ปัญหาที่มักพบอยู่เสมอ คือ ผู้สอนส่วนใหญ่ยังคงยึดรูปแบบการสอนแบบบรรยาย โดยมีครูเป็นศูนย์กลางมากกว่าการสอนในรูปแบบอื่น การสอนด้วยวิธีการแบบนี้เป็นการสอนที่ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในบั้นปลาย พราะนอกจากจะทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายขาดความสนใจแล้ว ยังเป็นการปิดกั้นความคิดและสติปัญญาของผู้เรียนให้อยู่ในขอบเขตจำกัดอีกด้วย
          1.2  ปัญหาด้านเนื้อหาวิชาบางวิชาเนื้อหามากและบางวิชามีเนื้อหาเป็นนามธรรมยากแก่การเข้าใจ จึงจำเป็นจะต้องนำเทคนิคการสอนและสื่อมาช่วย
             1.3  ปัญหาด้านการวัดและประเมินผล เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำครูผู้สอนนำไปใช้ในการปรับกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นหรือใช้ผลการประเมินเป็นข้อมูลย้อนกลับในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนได้
           1.4  ปัญหาเรื่องอุปกรณ์การสอน บางเนื้อหามีสื่อการสอนเป็นจำนวนน้อยไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้เพื่อทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาได้ง่ายขึ้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาคิดค้นหาเทคนิควิธีการสอน   และผลิตสื่อการสอนใหม่  เพื่อนำมาใช้ทำให้การเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายได้
2. เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน การสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาโดยการนำสิ่งประดิษฐ์หรือแนวความคิดใหม่ ๆ ในการเรียนการสอนนั้นเผยแพร่ไปสู่ครู  อาจารย์ท่านอื่นๆ หรือเพื่อเป็นตัวอย่างอีกรูปแบบหนึ่งให้กับครู  อาจารย์ที่สอนในวิชาเดียวกันได้นำแนวความคิดไปปรับปรุงใช้หรือผลิตสื่อการสอนใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป  
 3. การนำนวัตกรรมไปใช้เป็นผลงานทางวิชาการ  นวัตกรรมการเรียนรู้นอกจากจะเป็นประโยชน์ในด้านการปรับปรุงและพัฒนางานหรือการจัดการเรียนการสอนแล้ว ยังเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาวิชาชีพอีกด้วย โดยผู้สร้างนวัตกรรมสามารถนำผลจากการนำนวัตกรรมไปใช้เป็นผลงานวิชาการเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะ หรือปรับตำแหน่งให้สูงขึ้นได้
วิธีการประเมิน
ขั้นที่1 ประเมินจากการถามผู้เรียนว่าคำใดอยู่ในมาตราตัวสะกดไทยโดยครูผู้สอนยกตัวอย่างคำมาเพื่อใช้ทดสอบผู้เรียนจำนวน 10 คำ ผู้เรียนจะต้องเข้าใจแยกออกและต้องตอบให้ได้ 8 คำขึ้นไปจึงจะผ่านเกณฑ์การประเมิน
ขั้นที่2 ประเมินจากการแต่งประโยคของนักเรียนว่านักเรียนสามารถเข้าใจและสื่อสารได้ถูกต้องชัดเจนหรือไม่ เต็ท 10 คะแนน จะต้องได้คะแนน 7 คะแนน ขึ้นไปจึงจะผ่านเกณฑ์การประเมิน

วิธิการทำสื่อการเรียนการสอนแบบสไลด์เรื่องมาตราตัวสะกดไทย



ขอขอบคุณ อาจารย์อภิรักษ์  พันธุ์พนาสกุล ผู้ให้คำปรึกษา